แนวคิดยุคใหม่สำหรับป้องกันภัยจาก Ransomware : ”ให้เชื่อว่าระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นศูนย์ หรือ ไม่เชื่อไว้ก่อนว่าปลอดภัย (Zero-Security)”!
ปัจจุบัน Ransomware จัดเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากหากพิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจะมีการโจมตีทั้งแบบ ผ่านช่องโหว่ที่ไม่ได้รับการแก้ไข (zero-day) บนระบบปฏิบัติการ หรือการโจมตีแบบหลอกลวงต่าง ๆ (Phishing or Spear-Phishing)
รวมไปถึงความเป็นจริงที่ว่า “ผู้โจมตีจะนำหน้าผู้ป้องกันอยู่หนึ่งก้าวเสมอ ในการหาเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ๆมาใช้โจมตี” จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถป้องกันภัยจาก Ransomware ด้วยแนวคิดแบบเดิม
ดังนั้น Veritas จึงแนะนำให้องค์กรนำแนวคิดการรักษาความปลอดภัยแบบ “ไม่เชื่อว่าปลอดภัย (Zero-Security)” มาใช้งาน โดยเป็นความคิดที่ถือว่า ไม่มีระบบใดรับประกันความปลอดภัยได้ 100 เปอร์เซ็นต์
เราจะคิดแต่เพียงว่าทำอย่างไรถึงจะป้องกัน Ransomware ไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องคิดไปถึงว่าจะทำอย่างไรให้ระบบกลับมาทำงานได้ปกติอย่างรวดเร็ว หากโดนโจมตีด้วย Ransomware
โดย Zero-security ไม่ได้หมายถึงการตั้งรับโดยไม่มีการเตรียมพร้อมใด ๆ แต่เป็นการคิดไว้ก่อนว่าไม่มีระบบใดปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกรณีเกิดเหตุ
ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละองค์กรต่างมีระบบความรักษาความปลอดภัยรวมไปถึง Anti-Virus ที่ดีอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วควรมีทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการโจมตี และมาตรการสำหรับการกู้คืนระบบกรณีถูกโจมตี
บางองค์กรต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากหลังการถูกโจมตี เพียงเพราะเชื่อมันในระบบรักษาความปลอดภัยมากเกินไป จนละเลยการสำรองข้อมูลให้เป็นไปตามรูปแบบที่ปลอดภัย
จากรายงานเรื่อง การกู้คืนระบบจากการถูก Ransomware โจมตี ของ Veritas ในปี 2020 พบว่าจะใช้เวลาในการกู้คืนระบบมากกว่า 5 วัน ถึงแม้จะจ่ายค่าไถ่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กล่าวว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องจ่ายค่าไถ่บางส่วน หรือทั้งหมด เพราะไม่ธุรกิจไม่สามารถรับความเสียหายได้จากระยะเวลาการกู้คืนระบบที่มากกว่านี้
ดังนั้นการมีระบบสำรองข้อมูลที่ดี จะเป็นหนึ่งในการป้องกันภัยจาก Ransomware ได้เป็นอย่างดี แต่ใน
ปัจจุบันนี้ระบบสำรองข้อมูลก็เป็นหนึ่งในเป้าโจมตีของ Ransomware เช่นกัน เพื่อไม่ให้องค์กรต่าง ๆ มีทางเลือกในการกู้คืนข้อมูลจากระบบสำรองข้อมูลนอกจากจ่ายค่าไถ่
Veritas จึงขอแนะนำให้องค์กรต่าง ๆ
จากนั้นควรลดความเสี่ยงโดยการเก็บข้อมูลที่ Backup มาไว้ให้มี 2 ชุดขึ้นไป ในสถานที่แยกจากกัน เผื่อกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นกับระบบสำรองข้อมูล จะยังมั่นใจได้ว่ามีข้อมูลอีกชุดอยู่เสมอ
ซึ่ง Solution ของ Veritas จะแบ่งขั้นตอนการรับมือภัยจาก Ransomware ออกเป็น 3 แนวทางคือ
- การปกป้องข้อมูลด้วยการสำรองข้อมูล (Protect) ด้วยระบบสำรองข้อมูลที่มีความปลอดภัย
- การตรวจจับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของระบบ (Detect) เพื่อค้นหาความผิดปกติ
- การกู้คืนระบบในกรณีฉุกเฉิน (Recover) เพื่อให้ระบบกลับสู่สภาพปกติได้เร็วที่สุด
องค์กรที่ได้รับผลกระทบจาก ransomware มักเป็นองค์กรที่มีความแข็งแกร่งในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ไม่ครบทั้งหมด ทำให้ ไม่สามารถต่อกรกับ Ransomware ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ไม่มีระบบใดเพียงระบบเดียว ที่จะสามารถปกป้องข้อมูลจาก Ransomware ได้อีกต่อไปแล้ว การวางระบบรักษาความปลอดภัยแบบหลายๆชั้น และการเตรียมรับมือกรณีร้ายแรงที่สุดกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดผลกระทบจากการโจมตีได้เป็นอย่างมาก
โดยการ ไม่เชื่อไว้ก่อนว่าปลอดภัย (Zero-Security) เป็นขั้นตอนแรกของการวางรากฐานขั้นตอนการต่อกรกับภัยจาก Ransomware ในปัจจุบัน สำหรับการเตรียมความพร้อม เพื่อให้ระบบฟื้นกลับสู่สภาพปกติได้เร็วที่สุดหากเกิดเหตุฉุกเฉิน